การดูแลศาลาไม้
คนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในการดูแลรักษาศาลาไม้ เมื่อกาลเวลาผ่านไปไม่นาน ก็กลายเป็นเพียงซากศาลาไม้ผุๆพังๆ ดังนั้น หากท่าน ต้องการให้ศาลาไม้มีอายุยืนนาน ท่านต้องพยายามปกป้องรักษาเนื้อไม้จาก เชื้อรา และ ปลวก โดย การตั้งศาลาให้หลีกเลี่ยง จากการ สัมผัสความเปียกชื้น ให้มากที่สุด เช่น
- 1. ไม่ควรตั้งศาลาในรัศมีของระบบการให้น้ำอัตโนมัติทุกประเภท ( Spinkle ) และหากไม่จำเป็น ก็ไม่ควรปลูกไม้พุ่มเล็ก ใกล้ศาลาหรือโคนเสาศาลามากเกินไป เพราะนอกจากทำให้ ศาลา แลดูไม่โดดเด่นแล้ว ยังทำให้โคนเสาต้องเปียกชื้นจากการรดน้ำ โดยไม่จำเป็นครับ
- 2. ห้ามวาง / ตั้งศาลา กับ พื้นดิน (โดยตรง) เพราะ เชื้อราจากความชื้นของดิน จะกัดกร่อนทำลายแกนของเสาหลัก ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด และ ปลวกมักจะใช้เป็นเส้นทางเข้าทำลาย กัดกินเนื้อไม้เสาของท่านจากใต้ดิน
- 3. ทาสีตามช่วงระยะเวลา ศาลาไทยเราส่วนมากจะตั้งไว้กลางแจ้ง ดังนั้น ศาลาจะโดนแดดโดนฝน วันหนึ่งหลายๆชั่วโมง เราจึงควรทาสีย้อมไม้ตามระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความสวยงามของศาลาให้แลดูไม่เก่าตามกาลเวลา สีทาไม้ที่ใช้ จะต้องเป็นสีที่ใช้ทาไม้ โดยเฉพาะ และ จะต้องเป็นสีที่ใช้ทาภายนอก
- 4. สำรวจบริเวณรอบๆศาลาบ้าง หมั่นสำรวจบริเวณรอบๆศาลา ทั้งภายใน ภายนอกบ้าง ว่ามีทางเดินของปลวกทำทางเข้าโคนเสาหรือเปล่า หรือ มีเศษฝุ่นละเอียดไม้ล่วงตามจุดต่างๆหรือไม่ ( เกิดจากมอดไม้ ) จะได้กำจัดได้ทันเวลา
การดูแลรักษาศาลาไม้ให้สวยอยู่กับเราได้นานเท่านาน
หากมีน้ำหก ต้องรีบเช็ดให้แห้ง และหมั่นทำความสะอาด โดยใช้ผ้านุ่มชุบน้ำเปียกพอหมาด หรือใช้ผ้าชุบน้ำยาชนิดอ่อนเช็ดถูพื้นเป็นประจำ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของศาลาให้นานยิ่งขึ้น ควรให้พื้นไม้รับการถ่ายเทอากาศอยู่เสมอ ไม่ควรเก็บหรือวางสิ่งของบนศาลามากจนเกินไปเพราะจะเป็น แหล่งสะสมความชื้น และเชื้อรา ทำให้ไม้ผุ
ควรเลือกใช้ไม้สร้างศาลาที่เหมาะสมตั้งแต่ต้น
ไม้ที่อบแล้ว เพิ่มประสิทธิภาพของไม้ได้ดี คือ "การอบไม้ให้ได้ระดับความชื้นที่ได้มาตรฐาน " เพราะการอบไม้เป็นการควบคุมระดับความชื้นในไม้แต่ละชนิดให้ได้ความสมดุลย์ และเหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท และนอกจากนี้ การอบไม้มีผลทำให้มีคุณสมบัติดีขึ้นดังนี้
- 1. การบิด หด และการขยายตัวของไม้ลดลง
- 2. การโก่ง งอ ของไม้ลดลง
- 3. ลดปัญหาการถูกทำลายเอยไม้ดดยปลวก มอด และแมลงต่าง ๆ
- 4. มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น